วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555


บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
            เนื่องจากในชุมชนมีการเลี้ยงเป็ดไข่กันมาก เพราะช่วงนี้ก็เป็นช่วงฤดูร้อนซึ่งร้อนกว่าปกติจะทำให้ไข่เป็ดเน่าเสียเร็วผู้จัดทำโครงงานได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการถนอมอาหารเอง โดยการนำไข่เป็ดมาทำเป็นไข่เค็ม แต่เนื่องจากในชุมชนและท้องตลาดมีรสชาติของไข่เค็มแบบธรรมดา  จึงได้มีแนวคิดที่จะพัฒนาไข่เค็มให้มีกลิ่นและรสชาติของใบเตยและตะไคร้
                ในการทำโครงงานไข่เค็มจากกลิ่นใบเตยและตระไคร้จึงมีแนวคิดใหม่ในการพัฒนาให้มีไข่เค็มโดยการมีกลิ่นและรสชาติของใบเตยและตระไคร้

จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า
1.             พัฒนารสชาติและกลิ่นของไข่เค็มให้มีคุณภาพมากขึ้น
2.             เพิ่มคุณค่าของไข่เค็มและสมุนไพรในท้องถิ่น
3.             ศึกษากลิ่นที่นำมาทำไข่เค็ม      

สมมุติฐาน
                ได้ไข่เค็มกลิ่นใบเตยและตระไคร้
                ตัวแปรต้น       สารสกัดจากใบเตยและตระไคร้
                ตัวแปรตาม      กลิ่นและรสชาติที่เกิดขึ้น
                ตัวแปรควบคุม ระยะเวลาในการดองไข่    สถานที่   อุณหภูมิ   ขวด   น้ำ         

ขอบเขตการจัดทำโครงงาน
1.             ดองไข่เค็มจำนวน  10  ฟอง
2.             เวลาการดอง  3  สัปดาห์
3.             ใช้เฉพาะสารสกัดจากใบเตยและตระไคร้เท่านั้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.             เป็นการยืดอายุให้กับไข่เค็ม
2.             เป็นการเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบ
3.             สามารถนำไข่เค็มมาทำเป็นอาชีพเสริมในครอบครัว,ในชุมชนได้ลดปัญหาการว่างงานเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้กับคนในชุมชน

บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีหรือแนวความคิดในการจัดทำโครงงาน

                การถนอมอาหารก็คือ การรักษาอายุธรรมชาติและสีสันของอาหารซึ่งเกิดจากการปรุงอาหาร การถนอมอาหารโดยการดองเป็นการถนอมอาหารแบบหนึ่งในความเข้มข้นของเกลือ น้ำตาลควบคุมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ผลิตกรดหลิกติคและป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารบูดเน่า การถนอมอาหารนี้ใช้กับผัก ผลไม้และไข่
ไข่เค็ม เป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่ง โดยมักจะใช้ไข่เป็ดแล้นำไปแช่ในน้ำเกลือเพื่อให้เกลือซึมเข้าไปในเนื้อของไข่ เพื่อสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น โดยการทำไข่เค็มก็สามารถใส่กลิ่นต่างลงไปได้ โดยการนำสมุนไพรที่มีกลิ่นมาบดให้ละเอียดและก็ต้มในน้ำเกลือแช่ไข่เป็ดลงในน้ำเกลือนั้นเมื่อเย็นแล้ว

เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องในการจัดทำโครงงาน

เราจะได้คุณประโยชน์จากไข่เป็ดเป็นแหล่งโปรตีนและเป็นอาหารจำเป็นต่อร่างกายประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็น ธาติเหล็กช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ฟอสฟอรัสและแคลเซียม วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตาช่วยในการมองเห็น ช่วยให้สภาพอาการมองเห็นได้ดีในที่มืดและสว่าง วิตามิน บี 2 ช่วยบำรุงผิวแล้วก็ยังมีคาร์โบไฮเดรต ไข่มันและน้ำเป็นอาหารที่มีคุณค่าสูงมาก และราคาก็ถูก

ความหมายของไข่
ประโยชน์ของไข่ และ การบริโภคที่เหมาะสม "เพื่อสุขภาพที่ดี"
ประโยชน์ของไข่นั้นมีมากมายอย่างน่าอัศจรรย์เลยทีเดียวค่ะ แต่ถ้าจะได้ ประโยชน์ของไข่ อย่างสูงสุดก็ควรที่จะมีการบริโภคหรือการกินไข่ที่เหมาะสมตามวัยกันอีกด้วยค่ะ เพื่อที่จะได้รับ ประโยชน์ของไข่ อย่างเต็มที่ให้กับร่างกาย และวันนี้เราก็นำเกร็ดความรู้เรื่องประโยชน์ของไข่และการบริโภคไข่ที่เหมาะสมมาฝาก เพื่อให้ทุกคนได้รับความรู้และปฏิบัติตามกันอย่างควบคู่กันไปเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ โดยปกติคนส่วนใหญ่ก็มักจะเลือกรับประทานไข่เป็นอาหารหลักกันอยู่แล้วไม่ใช่แต่เฉพาะคนไทยเท่านั้นต่างชาติหลายๆ ประเทศก็มักจะนิยมบริโภคไข่เป็นอาหารหลักด้วยกันทั้งนั้น
ประโยชน์ของไข่
                1. ไข่อุดมไปด้วยโปรตีน โดย 1 ฟองจะมีโปรตีนคุณภาพดี 6 กรัม และกรดอะมิโนสำคัญอีก 9 ชนิด
                2. ผลจากการทำวิจัยโดยมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์วาร์ดพบว่า ไม่มีความเชื่อมโยงที่สำคัญระหว่างการบริโภคไข่กับการเกิดโรคหัวใจ แถมยังมีผลการวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่พบว่า การบริโภคไข่เป็นประจำยังช่วยป้องกันเลือดจับตัวเป็นก้อนเส้นเลือดอุดตันในสมองและภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
                3. ไข่เป็นแหล่งโคลีนที่ดี โดยโคลีนอยู่ในกลุ่มของวิตามินบีจัดเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยในการควบคุมการทำงานของสมอง ระบบประสาท และระบบไหลเวียนของเลือด โดยไข่ 1 ฟองจะมีโคลีนมากถึง 300 ไมโครกรัม
                4. ไข่อาจจะช่วยป้องกันมะเร็งเต้านม โดยผลการศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่รับประทานไข่ 6 ฟองต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมลงร้อยละ 44
                5. ไข่ทำให้เส้นผมและเล็บมีสุขภาพดี เพราะว่าไข่มีซัลเฟอร์สูงรวมถึงยังมีวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิด หลายคนจึงพบว่าผมยาวเร็วขึ้นหลังจากที่เพิ่มไข่เข้าไปในอาหารที่รับประทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนที่เคยขาดอาหารที่มีซัลเฟอร์หรือวิตามินบี12 มาก่อน 
 ความหมายของใบเตย
ความหมายและประโยชน์ของใบเตย
ใบเตย หรืออีกหนึ่ง สมุนไพรใบเตย ที่คนไทยรู้จักกันดีเพราะนอกจากเราจะใช้ ใบเตย ในการประกอบอาหารหลาย ๆ อย่าง อีกทั้ง ยังให้กลิ่งหอมและทีสำคัญที่สุด สรรพคุณของใบเตย ยังมีอีกมายมายนักคุณอาจจะคิดไม่ถึง นั้นเรามามาดูสรรพคุณและ ประโยชน์ของใบเตย กันเลยดีกว่าค่ะ
สรรพคุณ และ ประโยชน์ ใบเตย

               การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า เตยหอมมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ลดความดันโลหิต ลดอัตราการเต้นของหัวใจ ขับปัสสาวะ ซึ่งฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่กล่าวไปทั้งหมดนั้น ซึ่งมาจากการทดลองในห้องทดลอง นอกจากนี้ได้มีการทำศึกษาวิจัย โดยนำน้ำต้มรากเตยหอมไปทดลองในสัตว์ทด ลองเพื่อดูฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดปรากฏว่าสามารถลดน้ำตาลในเลือดของสัตว์ทดลองได้ จึงนับได้ว่าสมุนไพรเตยหอมเป็นสมุนไพรที่มีคุณค่าอีกชนิดหนึ่งสามารถนำมาทำเป็นเครื่องดื่มรับประทานเองได้
วิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย

ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยาเตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดยมากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและรากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ใบช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่นลดกระหายน้ำและอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง
ความหมายของตะไคร้
ความหมายและประโยชน์ของตะไคร้
ตะไคร้บ้าน ตะไคร้แกง คาหอม จะไคร้ เชิดเกรย  และไคร้ ตะไคร้แดง ตะไคร้มะขูด จะไคร้มะขูด
ชื่อสามัญ    LemonGrass, Lapine   
ชื่อวิทยาศาสตร์    Citronella citrates  
ชื่อวงศ์      Gramineae    
     ต้น 
                   เป็นไม้ล้มลุกจะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง แข็ง เกลี้ยง และตามปล้อง (กาบของโคนต้น) มักมีไขปกคลุมอยู่ ความสูงวัดจากโคนถึงกาบใบ ประมาณ 30 เซนติเมตร
เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นจะตั้งตรง แต่แตกออกมา เป็นกอ สูงประมาณ 2 เมตร ที่โคน จะเป็นกาบชั้น ๆ เหมือนตะไคร้บ้าน แต่ไม่มีไขปกคลุม เหมือนตะไคร้บ้าน ความสูงวัดจากโคนต้น ถึงกาบใบประมาณ 60-75 เซนติเมตร
    ใบ
                  ใบเดี่ยว แตกออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ยาว 30-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนระคายมือเล็กน้อย ส่วนด้านล่างจะเรียบ ขอบใบเรียบ มีใบยาวและกว้างกว่าตะไคร้บ้านยาวประมาณ 1 เมตร กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นเล็กน้อย เมื่อส่องดูในที่มีแสงสว่างจะเห็นว่าขอบใบไม่เรียบ และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน

   สรรพคุณ

                  ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ และแก้อหิวาตกโรค และยังใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น รักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ 
ใบ ใบสด ๆ     ช่วยลดความดัน โลหิตสูง แก้ไข้
ราก                ใช้เป็นยาแก้ไขปวดท้องและท้องเสีย
ต้น                 ใช้เป็นยาขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ
น้ำมัน             มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และมีกลิ่นไล่สนุขและแมว
ทั้งต้น            ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิตระดู

บทที่  3
วัสดุ อุปกรณ์และการทดลอง
วัสดุและอุปกรณ์
1.             ไข่เป็ด        10  ฟอง
2.             ใบเตย         1  กรัม
3.             ตะไคร้        1   กรัม    
4.             เกลือ            ถุง
5.             น้ำสะอาด   5   ลิตร
6.             ขวดโหล      ใบ
7.             หม้อต้ม       1  ใบ
8.             เตาไฟ          1 ใบ
9.             กะละมัง      1  ใบ
10.           เครื่องปั่น    1   เครื่อง
11.           ตรอง          1  ชิ้น
12.             มีด              1   ด้าม
13.           เขียง           1    อัน

วิธีการทดลอง
1.             ล้างไข่เป็ดให้สะอาดวางเรียงในภาชนะไว้ให้แห้ง


   
  



   2.             ล้างทำความสะอาด  ใบเตย 1 กรัม และ ตะไคร้ 1 กรัม
    3.             นำใบเตยและตะไคร้มาหั่นและมาบดให้ละเอียด
       

  4.             ตวงน้ำใบเตยและน้ำตะไคร้และเกลือตามอัตราส่วนจากนั้นนำใส่ในภาชนะที่                                            
                 เตรียมไว้
       5.            เทใส่ลงในไข่เป็ดที่วางเรียงอยู่ในภาชนะบรรจุ(ใส่โดยไม่ตรองเอากาก      
                       สมุนไพรออก)
        
       
6.             เริ่มทำการทดลองไข่เค็มของใบเตยและตะไคร้

 




   


7.             ดองไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ได้ระยะเวลา 10วัน แล้วนำมาทดลองสอบว่ามีกลิ่นบนของเปลือกไข่
8.             ดองไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ได้ระยะเวลา 15วัน แล้วนำมาทดลองสอบว่ามีกลิ่นบนของเปลือกไข่
9.             ดองไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ได้ระยะเวลา 21วัน แล้วนำมาทดลองสอบว่ามีกลิ่นบนของเปลือกไข่
10.      จากนั้นสังเกตและบันทึกผล

บทที่ 4
การผลการวิเคราะห์ทดลอง


ว/ด/ป

รายการ

ผลการวิเคราะห์
กลิ่น
รสชาติ / ความเค็ม
20  / ส.ค /2555
ใบเตย
P

ตะไคร้
P

25 /ส.ค / 2555
ใบเตย
P
P
ตะไคร้
P
P
29 /ส.ค / 2555
ใบเตย
P
P
ตะไคร้
P
P

 บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ
        สรุปผล
                จากผลการทดลองพบว่า
ไข่เค็มใบเตยและตะไคร้ที่ได้ทดลองผลออกมาเมื่อทดสอบแล้วกลิ่นหอม รสชาติเค็ม  ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย มีกลิ่นที่หอม  เนื่องมาจากกลิ่นของใบเตยและตะไคร้และได้กลิ่นรสชาติที่แตกต่างจากไข่เค็มธรรมดา
     ประโยชน์
1. สามารถแปรรูปสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
2. มีรายได้เสริมจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อสุขภาพ
3. ได้รับความรู้จากการทำโครงงาน ทั้งการผลิต การแปรรูป
4. เพื่อเพิ่มมูลค่าของพืชสมุนไพรให้เพิ่มขึ้น
        ข้อเสนอแนะ
            1.   ข้อเสนอแนะในการนำผลการทดลองไปใช้
                       1.1. ผลการศึกษาพบว่า ควรจะมีการใช้วัตถุดิบหรือส่วนผสมที่มากขึ้น มีการนำสมุนไพรชนิดอื่นมาใช้ทำในการทดลอง และควรพัฒนาต่อยอดของโครงงานให้สามารถเป็นผลิตภัณฑ์ที่สมบูรณ์
                   1.2.ไข่เค็มใบเตยและตะไคร้สามารถควรที่จะนำออกไปสู่ตลาดได้เหมือนไข่เค็มอื่นๆ